ระบบเงินกู้และค้ำประกัน(ระบบสินเชื่อ)
- คำอธิบายภาพรวมของระบบ
ระบบเงินกู้และค้ำประกันเป็นระบบที่เกี่ยวกับการกู้เงินที่สมาชิกขอกู้จาก สหกรณ์ เงินกู้มี 3 ประเภทหลักคือ เงินกู้สามัญ เงินกู้พิเศษ และเงินกู้ฉุกเฉิน แต่ละประเภทอาจมีการจำแนกเป็นประเภทย่อยต่อไปอีก เงินกู้แต่ละประเภท แต่ละสัญญานั้นต้องมีการค้ำประกันเงินกู้ (ยกเว้นประเภทเงินกู้ฉุกเฉิน) การค้ำประกันมีหลายกรณี เช่น ใช้หุ้นค้ำ ใช้บุคคลค้ำ หรือใช้หลักทรัพย์อื่นค้ำ และมีเงื่อนไขปลีกย่อยอีกหลายอย่าง
โปรแกรมระบบเงินกู้รองรับงานในทุกกระบวนการ ตั้งแต่กระบวนการขอกู้ (รับคำขอกู้ ตรวจสอบสิทธิ์การกู้ ตรวจสอบสิทธิ์ผู้ค้ำประกัน) กระบวนการอนุมัติ กระบวนการออกสัญญาเงินกู้/สัญญาค้ำประกัน กระบวนการจ่ายเงินกู้ และกระบวนการรับชำระเงินกู้เป็นรายงวด/ชำระพิเศษ(รายละเอียดของระบบประมวลผล และจัดเก็บ) ในแต่ละกระบวนการจะมีการเชื่อมโยงกับระบบอื่นที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ เช่น ระบบทะเบียนสมาชิก ระบบทุนเรือนหุ้น ระบบเงินฝาก ระบบการเงิน ระบบบัญชี ระบบประมวลผลและจัดเก็บ เป็นต้น
รายงานผลข้อมูล รวมถึงเอกสาร ใบสำคัญ ใบเสร็จรับเงิน ใบรับเงินและเอกสารในรูปแบบอื่น สามารถกำหนดใช้ตามรูปแบบมาตรฐานของทางการ(เช่นของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์) หรือกำหนดเป็นรูปแบบเฉพาะของสหกรณ์ได้ รายงานผลข้อมูลฯ เหล่านี้สามารถแสดงผลทางหน้าจอ และพิมพ์ออกเครื่องพิมพ์ได้ ตลอดจนสามารถจัดเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูล (Print Files) ไว้ในเครื่อง ที่สามารถเรียกมาดูย้อยหลังได้
2.คุณลักษณะที่สำคัญของระบบ
หมายเหตุ ระบบเงินกู้ หรือระบบสินเชื่อ เป็นระบบที่มักต้องมีการปรับเปลี่ยน (Customization) มากที่สุด เนื่องจากแต่ละสหกรณ์สามารถกำหนดหลักเกณฑ์/เงื่อนไขเกี่ยวกับเงินกู้เป็นของ ตนเองได้อย่างค่อนข้างเป็นอิสระ ซึ่งอาจจะระบุไว้ในข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือมติที่ประชุมกรรมการสหกรณ์
รายละเอียดที่นำเสนอในที่นี้จะแยกตามประเภทเงินกู้ และเสนอเฉพาะรายการที่สำคัญเท่านั้น
2.1 เงินกู้สามัญ
(1) เงื่อนไขและหลักเกณฑ์การกู้
- วงเงินกู้ กำหนดได้จากเงื่อนไขของระยะเวลาการเป็นสมาชิก อัตราเงินเดือน ทุนเรือนหุ้น และประเภท/กลุ่มของสมาชิก
- จำนวนงวดชำระหนี้ กำหนดจำนวนงวดสูงสุด ทั้งกรณีกรณีส่งชำระแบบปกติและแบบขอผ่อนผัน
- อัตราดอกเบี้ย สามารถกำหนด
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ได้มากกว่า 1 อัตรา
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ล่วงหน้าได้
- แยกตามประเภทเงินกู้
- การคำนวณดอกเบี้ย สามารถกำหนด
- รูปแบบการคำนวณดอกเบี้ย
- วิธีการนับวัน(ที่เริ่ม/สิ้นสุด)ในการคิดดอกเบี้ย
- การนับจำนวนวัน(ในรอบปี)ที่ใช้คำนวณดอกเบี้ย (365, 366, วันตามปีปฏิทิน)
- วิธีการปัดเศษดอกเบี้ย
- การค้ำประกัน สามารถกำหนดได้ทั้งการใช้บุคคลค้ำประกัน หรือใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยปกติใช้บุคคลค้ำประกัน ซึ่งสามารถกำหนด
- ประเภทสมาชิกที่ค้ำประกันได้
- จำนวนบุคคลค้ำประกันต่ำสุด (คน)
- จำนวนสัญญาสูงสุดที่ค้ำประกันได้
- เงื่อนไขที่เกี่ยวกับอัตราเงินเดือน
- เงื่อนไขเกี่ยวกับภาระการรับชำระหนี้แทนในฐานะผู้ค้ำประกัน
(2) การตรวจสอบสิทธิ์การกู้ และสิทธิของผู้ค้ำ จากคำขอกู้
- ตรวจสอบกรณีว่างดให้กู้หรือไม่
- แสดงรายละเอียดสัญญาเดิมที่สมาชิกมีอยู่ (ถ้ามี)
- ตรวจสอบสิทธิ์การกู้ตามหลักเกณฑ์
- ตรวจสอบสิทธิ์ของผู้ค้ำที่ระบุ สามารถค้ำได้หรือไม่
(3) การบันทึก/แก้ไขคำขอกู้
- บันทึกเลขลำดับคำขอกู้โดยอัตโนมัติ หรือกำหนดเองได้
- บันทึกการหักกลบหนี้เก่า และคำนวณยอดที่ได้รับ
- ออกใบแสดงการหักชำระสัญญาเงินกู้เดิม
- บันทึกการส่งคืนใบคำขอกู้และเอกสารประกอบคำขอกู้ที่ไม่สมบูรณ์
- ออกใบรายละเอียดงวดชำระพร้อมดอกเบี้ย
- ออกสัญญากู้เงิน
- ออกสัญญาค้ำประกัน
(4) ตารางการผ่อนชำระหนี้ สามารถแสดงหรือพิมพ์ตารางการผ่อนชำระเงินกู้พร้อมดอกเบี้ย
(5) การอนุมัติ
- สามารถอนุมัติผลการกู้ได้ผ่านทางหน้าจอของผู้มีอำนาจอนุมัติ
- จัดลำดับการอนุมัติได้ตามลำดับชั้นของอำนาจ
- จัดเก็บวัน เวลา และผู้ที่อนุมัติไว้ในฐานข้อมูลเมื่อมีการบันทึกผลการอนุมัติ
(6) รายงานต่างๆ
รายงานประจำวัน
- รายงานรายละเอียดคำขอกู้
- รายงานสรุปยอดคำขอกู้
- รายงานรายละเอียดการอนุมัติและจ่ายเงินกู้
- รายงานสรุปยอดอนุมัติและจ่ายเงินกู้
- รายงานส่งคืนคำขอกู้ที่ไม่สมบูรณ์
รายงานประจำเดือน
- รายงานลูกหนี้เงินกู้ (จัดเก็บรายเดือน)
- รายงานลูกหนี้เงินกู้คงเหลือ
- รายงานรายการที่ค้างชำระ
2.2 เงินกู้พิเศษ
(1) เงื่อนไขและหลักเกณฑ์การกู้
- ประเภทเงินกู้พิเศษ ได้แก่
- กู้เพื่อซื้อบ้าน/ที่ดิน
- กู้เพื่อซื้อยานพาหนะ
- กู้เพื่อการศึกษาบุตร
- กู้เพื่อซื้ออาวุธปืน
- วงเงินกู้ กำหนดได้จากเงื่อนไขของระยะเวลาการเป็นสมาชิก อัตราเงินเดือน ทุนเรือนหุ้น หลักทรัพย์และยอดเงินฝากกับสหกรณ์
- จำนวนงวดชำระหนี้ กำหนดจำนวนงวดสูงสุดได้
- อัตราดอกเบี้ย สามารถกำหนด
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ได้มากกว่า 1 อัตรา
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ล่วงหน้าได้
- แยกตามประเภทเงินกู้
- การคำนวณดอกเบี้ย สามารถกำหนด
- รูปแบบการคำนวณดอกเบี้ย
- วิธีการนับวัน(ที่เริ่ม/สิ้นสุด)ในการคิดดอกเบี้ย
- การนับจำนวนวัน(ในรอบปี)ที่ใช้คำนวณดอกเบี้ย (365, 366, วันตามปีปฏิทิน)
- วิธีการปัดเศษดอกเบี้ย
- การค้ำประกัน สามารถกำหนดได้ทั้ง
- ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
- ใช้ค่าหุ้นค้ำประกัน
- ใช้เงินฝากค้ำประกัน
- ใช้บุคคลค้ำประกัน
(2) การตรวจสอบสิทธิ์การกู้ การตรวจสอบสิทธิ์การกู้ และการค้ำประกัน
- ตรวจสอบกรณีว่างดให้กู้หรือไม่
- แสดงรายละเอียดสัญญาเดิมที่สมาชิกมีอยู่ (ถ้ามี)
- ตรวจสอบสิทธิ์การกู้ และการค้ำประกัน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
(3) การบันทึก/แก้ไขคำขอกู้
- บันทึกเลขลำดับคำขอกู้โดยอัตโนมัติ หรือกำหนดเองได้
- บันทึกการหักกลบหนี้เก่า และคำนวณยอดที่ได้รับ
- ออกใบแสดงการหักชำระสัญญาเงินกู้เดิม
- บันทึกการส่งคืนใบคำขอกู้และเอกสารประกอบคำขอกู้ที่ไม่สมบูรณ์
- ออกใบรายละเอียดงวดชำระพร้อมดอกเบี้ย
- ออกสัญญากู้เงิน
- ออกสัญญาค้ำประกัน
(4) ตารางการผ่อนชำระหนี้ สามารถแสดงหรือพิมพ์ตารางการผ่อนชำระเงินกู้พร้อมดอกเบี้ย
(5) การอนุมัติ
- สามารถอนุมัติผลการกู้ได้ผ่านทางหน้าจอของผู้มีอำนาจอนุมัติ
- จัดลำดับการอนุมัติได้ตามลำดับชั้นของอำนาจ
- จัดเก็บวัน เวลา และผู้ที่อนุมัติไว้ในฐานข้อมูลเมื่อมีการบันทึกผลการอนุมัติ
(6) รายงานต่างๆ
รายงานประจำวัน
- รายงานรายละเอียดคำขอกู้
- รายงานสรุปยอดคำขอกู้
- รายงานรายละเอียดการอนุมัติและจ่ายเงินกู้
- รายงานสรุปยอดอนุมัติและจ่ายเงินกู้
- รายงานส่งคืนคำขอกู้ที่ไม่สมบูรณ์
รายงานประจำเดือน
- รายงานลูกหนี้เงินกู้ (จัดเก็บรายเดือน)
- รายงานลูกหนี้เงินกู้คงเหลือ
- รายงานรายการที่ค้างชำระ
(7) การออกหนังสือรับรองดอกเบี้ยเพื่อไปลดหย่อนภาษี (กรณีสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้)
2.3 เงินกู้ฉุกเฉิน
(1) เงื่อนไขและหลักเกณฑ์การกู้
- ประเภทเงินกู้ฉุกเฉิน ได้แก่
- กู้เงินกู้ฉุกเฉินสด
- เงินกู้ฉุกเฉินหักโอน (รายเดือน,รายปี)
- เงินกู้ฉุกเฉินหักโอนเอง
- วงเงินกู้ กำหนดได้จากเงื่อนไขของระยะเวลาการเป็นสมาชิก อัตราเงินเดือน ทุนเรือนหุ้น
- จำนวนงวดชำระหนี้ กำหนดจำนวนงวดสูงสุดได้
- อัตราดอกเบี้ย สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ล่วงหน้าได้
- การคำนวณดอกเบี้ย สามารถกำหนด
- รูปแบบการคำนวณดอกเบี้ย
- วิธีการนับวัน(ที่เริ่ม/สิ้นสุด)ในการคิดดอกเบี้ย
- การนับจำนวนวัน(ในรอบปี)ที่ใช้คำนวณดอกเบี้ย (365, 366, วันตามปีปฏิทิน)
- วิธีการปัดเศษดอกเบี้ย
(2) การตรวจสอบสิทธิ์การกู้
- ตรวจสอบกรณีว่างดให้กู้หรือไม่
- แสดงรายละเอียดสัญญาเดิมที่สมาชิกมีอยู่ (ถ้ามี)
- ตรวจสอบสิทธิ์การกู้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
(3) การบันทึก/แก้ไขคำขอกู้
- บันทึกเลขลำดับคำขอกู้โดยอัตโนมัติ หรือกำหนดเองได้
- บันทึกการหักกลบหนี้เก่า และคำนวณยอดที่ได้รับ
- ออกใบแสดงการหักชำระสัญญาเงินกู้เดิม
- บันทึกการส่งคืนใบคำขอกู้และเอกสารประกอบคำขอกู้ที่ไม่สมบูรณ์
- ออกใบรายละเอียดงวดชำระพร้อมดอกเบี้ย
- ออกสัญญากู้เงิน
(4) ตารางการผ่อนชำระหนี้ สามารถแสดงหรือพิมพ์ตารางการผ่อนชำระเงินกู้พร้อมดอกเบี้ย
(5) การอนุมัติ
- สามารถอนุมัติผลการกู้ได้ผ่านทางหน้าจอของผู้มีอำนาจอนุมัติ
- จัดลำดับการอนุมัติได้ตามลำดับชั้นของอำนาจ
- จัดเก็บวัน เวลา และผู้ที่อนุมัติไว้ในฐานข้อมูลเมื่อมีการบันทึกผลการอนุมัติ
(6) รายงานต่างๆ
รายงานประจำวัน
- รายงานคำขอกู้เงินฉุกเฉินทุกประเภทแยกตามเงื่อนไข
- รายงานรายละเอียดการจ่ายเงินกู้ฉุกเฉิน
- รายงานสรุปยอดการจ่ายเงินกู้ฉุกเฉิน
- รายงานรายละเอียดการอนุมัติและจ่ายเงินกู้
- รายงานสรุปยอดอนุมัติและจ่ายเงินกู้
- รายงานส่งคืนคำขอกู้ที่ไม่สมบูรณ์
รายงานประจำเดือน
- รายงานลูกหนี้เงินกู้ (จัดเก็บรายเดือน)
- รายงานลูกหนี้เงินกู้คงเหลือ
- รายงานรายการที่ค้างชำระ