ข้อมูลติดต่อบริษัทไอโซแคร์

Cloud Computing กับสหกรณ์

cloud technology เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอที (Information Technology : IT) ในปัจจุบัน(คศ.2012) มีความก้าวหน้า และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ได้มากขึ้นเป็นลำดับ ทุกวันนี้มีระบบ 3G หรือ WIFI ที่ทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ไอทีผ่านระบบนี้โดยใช้คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือได้สะดวกรวดเร็ว ผู้ให้บริการไอทีทั้งหลายก็ต้องปรับตัวให้ทันกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เพื่อความก้าวหรือเพื่อความอยู่รอด เทคโนโลยีสารสนเทศหลักที่มีบทบาทสำคัญในปัจจุบัน และจะสำคัญยิ่งในอนาคต คือ เทคโนโลยีของเว็บ(Web Technology) เทคโนโลยี Cloud Computing (ชื่อภาษาไทยยังไม่ลงตัว)

สำหรับเทคโนโลยีของเว็บเข้า ใจกันง่ายๆแบบชาวบ้าน(ที่ทันยุคสมัยหน่อย)ก็คือสิ่งที่สามารถใช้งานผ่านเว็บ หรือผ่านเน็ทได้ ในการให้บริการนั้นไม่ว่าจะเป็นรูปข้อมูล ข่าวสาร สารคดี บันเทิง หรือรูปแบบอื่นๆก็ต้องมีตัวขับเคลื่อนที่เรียกว่า Application ใช้ (ชื่อไทยก็ยังไม่ลงอีกเหมือนกัน) คนที่ใช้แท็ปเล็ต หรือมือถือยุคปัจจุบันรู้จักดี เด็ก ป.1 ซึ่งได้รับแจกให้ใช้แท็ปเล็ตก็รู้จักคำว่า Application โดยปริยาย ทั้งที่ไม่เข้าใจความหมายของมัน ในบทความนี้ตั้งใจจะว่าถึง Cloud Computing เป็นหลักจึงไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดในเรื่องนี้ แต่จะขอกล่าวถึงคำว่า Application ดังกล่าวนี้คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั่นเอง และที่นำมาใช้บนเทคโนโลยีของเว็บก็จะเป็นชนิดที่เรียกว่า Web Application

cloud and web technology

เทคโนโลยี Cloud Computing ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานและซอฟต์แวร์ ในส่วนประกอบทั้งสองนี้ ถ้าจะมองภาพให้เข้าใจง่ายๆแล้ว ด้านโครงสร้างพื้นฐาน(infrastructure) ก็คือส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์(Hardware)และระบบเครือข่าย (Network) ด้านซอฟต์แวร์ก็คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้งานโดยอาศัยโครงสร้างพื้น ฐาน ผู้สร้างและให้บริการ Cloud Computing มีทั้งแบบเจ้าเดียวกันเป็นเจ้าของทั้งโครงสร้างพื้นฐานและซอฟต์แวร์ หรือแบบแยกกัน ถ้าจะมองในภาพรวมระดับโลกแล้ว มีบริษัทใหญ่ไม่กี่เจ้าที่ลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่โตมโหฬาร สามารถใช้บริการได้ทั่วโลก โดยมีทั้งให้บริการซอฟต์แวร์ของตนเอง และเปิดให้ผู้อื่น(มีมากมาย)มาเช่าใช้โครงสร้างพื้นฐาน (หรือฟรี) เพื่อวางและให้บริการซอฟต์แวร์โดยอาศัยโครงสร้างพื้นฐานนั้น เป้าหมายหลักหรือประโยชน์สูงสุดของ Cloud Computing คือ “ใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา” ในรูปแบบที่ฉีกข้อจำกัดเดิมๆ ออกไปหมดสิ้น ทั้งนี้เนื่องจากมีการเก็บApplication ไว้บนโลกออนไลน์ (บนเมฆ) ที่สามารถเรียกใช้งาน Application ของคุณได้ทุกเมื่อเท่าที่คุณต้องการ เพียงคุณใช้อุปกรณ์ใดๆที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้ และมีสิทธิ์ในการ Access เข้าไปยัง Application ที่ต้องการใช้

การนำ Cloud มาเป็นตัวช่วยในการบริหารจัดการการดำเนินธุรกิจบน Cloud นั้น จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลของคุณได้มากกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยจากการเข้าถึงในรูปแบบ Physical ซึ่งก็คือการโจรกรรมข้อมูล หรือความเสียหายจากภัยธรรมชาติ อาทิ น้ำท่วม ไฟไหม้ หรือจากการที่อุปกรณ์ชำรุดเสียหาย เพราะการใช้บริการ Cloud ผู้ให้บริการจะเป็นผู้ดูแล ป้องกัน และรักษาความปลอดภัยด้วยมาตรฐานที่สูง ซึ่งถ้าคุณสร้างระบบให้มีความปลอดภัยทัดเทียมกัน จะต้องลงทุนสูงมาก

การใช้ Cloud นอกจากจะเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการบริหารจัดการข้อมูลในทุกระดับ ตั้งแต่ข้อมูลส่วนบุคคลไปจนถึงข้อมูลสำคัญขององค์กร ยังเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานเป็นอย่างยิ่งเพราะในทุกวันนี้คงไม่ มีใครนั่งประจำหน้าจอคอมพิวเตอร์บนโต๊ะเดิมตลอดเวลาอีกต่อไป ยุคการทำงานที่ต้องมีการแข่งขันกันอย่างสูงจะต้องมีความคล่องตัว สามารถเปิดดูข้อมูลที่ต้องการได้ทุกเวลาไม่ว่าจะอยู่ที่ส่วนใดของโลก ซึ่งเทคโนโลยีเครือข่ายอันทันสมัยช่วยให้คุณทำงานเช่นนั้นได้แล้วในปัจจุบัน นี้ และเมื่อประสานกับ Cloud แล้ว ข้อมูลของคุณจะถูกเก็บบันทึกจากเครื่องใดๆ ก็ได้ และคุณจะนำข้อมูลไปใช้ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเวลาใดและพื้นที่ส่วนใดบนโลกนี้ อย่างไรก็ตามประเด็นที่สำคัญที่สุดก่อนที่คุณจะตัดสินใจใช้บริการ Cloud ก็คือ ผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือเพียงพอ

 

SaaS บน Cloud computing

SaaS (Software as a Service) เป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งของระบบ Cloud computing และเป็นประเภทที่มีปริมาณมากที่สุด หรือเรียกว่าเป็นตัวหลักก็ได้ คุณลักษณะของ SaaS ก็คือ web-based software หรือ Web Application ที่ผู้ใช้สามารถเรียกใช้บริการต่างๆซอฟแวร์ผ่านทางเว็บ (บางทีก็เรียกว่าผ่านทางเว็บบราวเซอร์ หรือผ่านทางอินเตอร์เน็ต) โดยผู้ใช้ไม่ต้องสนใจเลยว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่มีตัวเครื่องแม่ข่าย (Server หรือ Host) อยู่ที่ไหน ใช้ระบบปฏิบัติการ (OS) อะไร หรือว่ามันถูกเขียนขึ้นมาโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์อะไร และก็ไม่ต้องติดตั้งl ซอฟต์แวร์ไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่เลย ตัวอย่างของ Saas ที่เราพบเห็นกันได้ในชีวิตประจำวันก็อย่างเช่น email (เช่น Hotmail,Gmail…) หรือโปรแกรมสืบค้นข้อมูล (Search Engine เช่น Google,Yahoo…) หรือโปรแกรมประยุกต์ (Application เช่น Google App. ,Windowslive) เป็นต้น

ประโยชน์ที่ได้รับจาก SaaS มีดังนี้

  • ทำ ให้การบริหารจัดการและควบคุมดูแลซอฟต์แวร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีการสำรอง การกู้คืน และการรักษาความปลอดภัยในระดับสูง
  • ทำให้ลดภาระของผู้ใช้งานสำหรับการติดตั้ง และการอัพเกรดซอฟต์แวร์ ซึ่งมักเป็นเรื่องยุ่งยากและเสียเวลาสำหรับผู้ใช้
  • สามารถให้การบริการซอฟแวร์เป็นไปได้อย่างทั่วถึง ทุกที่ ทุกเวลา
  • ช่วย ลดต้นทุนที่เป็นค่าใช้จ่ายซอฟต์แวร์ ทางฝ่ายผู้ให้บริการก็สามารถลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา ทางฝ่ายผู้ใช้บริการก็มีความเหมาะสมหรือเป็นธรรมในค่าการจ่ายเงินที่มีความ ยืดหยุ่นตามความต้องการใช้งาน

การพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบงานสหกรณ์ให้เป็น SaaS

สหกรณ์ในประเทศไทยมีอยู่มากกว่า 6,000 สหกรณ์ เป็นประเภทสหกรณ์การเกษตรมากกว่า 4,000 สหกรณ์ เป็นประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์มากกว่า 1,000 สหกรณ์ มีทั้งสหกรณ์ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่มาก ในจำนวนทั้งหมดเป็นสหกรณ์ขนาดเล็ก (มีจำนวนสมาชิกน้อยกว่า 1,000 คน) มีสัดส่วนมากที่สุด คือไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70

ปัจจุบันนี้สหกรณ์ได้นำซอฟต์แวร์มาใช้สำหรับงานของสหกรณ์อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะสหกรณ์ขนาดใหญ่และใหญ่มาก ใช้กันทุกสหกรณ์ สหกรณ์ระดับกลางก็ใช้กันเกือบทั้งหมด ส่วนที่หลงเหลือไม่ได้ใช้ซอฟต์แวร์ก็คือสหกรณ์ขนาดเล็ก มีตัวเลขของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ปี 2552 มีสหกรณ์ที่ยังไม่ได้ใช้ซอฟต์แวร์อยู่ประมาณร้อยละ 37 ปัญหาที่สำคัญที่สหกรณ์ขนาดเล็กไม่สามารถลงทุนสำหรับการจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้ ก็เนื่องจากขาดแคลนที่ตัวเงิน และบุคลากรที่ต้องใช้เพื่อการนี้ ซ้ำร้ายโดยสภาวะหลายอย่างที่ทำให้ภาระค่าใช้จ่ายสำหรับการใช้ซอฟต์แวร์ของ สหกรณ์ขนาดเล็กไม่แตกต่างจากสหกรณ์ระดับที่ใหญ่กว่ามากนัก ดังนั้นโจทย์ปัญหาก็คือทำอย่างไรถึงจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายแก่สหกรณ์ได้ รวมทั้งสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและเหมาะสมกับเทคโนโลยี ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ระบบ SaaS บน Cloud Computing น่าจะช่วยตอบโจทย์นี้ได้ คืออย่างน้อยช่วยแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง

ซอฟต์แวร์ระบบงานสหกรณ์ที่จะนำมาใช้เป็น SaaS เบื้องต้นที่สุดก็ต้องมีคุณลักษณะเป็น Web Application และควรจะใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับยุคสมัย มิฉะนั้นจะมีอายุการใช้งานที่สั้น สิ่งที่จะต้องพิจารณาถัดไปคือ จะจัดชุดซอฟต์แวร์หรือจัดแพคเกจอย่างไรจึงจะทำให้ใครใช้น้อยก็จ่ายน้อย เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายแก่สหกรณ์ขนาดเล็กได้ และจัดอย่างไรจึงจะเหมาะสมและตอบสนองความต้องการของสหกรณ์แต่ละแห่งได้

...... ถ้าต้องการทำความเข้าใจเรื่อง Cloud Computing เพิ่มเติม ให้คลิกดูวิดีโอจาก Youtube ความยาว 15 นาที

วิดีโอเรื่อง Cloud Computing โดย อ.ขจร พีรกิจ .......