Gartner's top 10 technologies for 2016
---------------------------------------------------------------------------------------------
ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าในปี2020จะมีการขยายตัวของอุปกรณ์ดิจิทัลอย่างรวดเร็วซึ่งอุปกรณ์ในกลุ่ม Smart ทั้งหลายจะช่วยให้เชื่อมโยงกันง่ายขึ้น ในอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้เราสามารถควบคุมเครือข่ายอุปกรณ์ในชีวิตประจำวันได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้เรียกว่า “Internet of Things” หรือ IoT คือสภาพแวดล้อมอันประกอบด้วยสรรพสิ่งที่สามารถสื่อสารและเชื่อมต่อกันได้ผ่านโพรโทคอลการสื่อสารทั้งแบบใช้สายและไร้สาย
1.ระบบควบคุมอุปกรณ์ในชีวิตประจำวัน (Device Mesh)
เป็นแนวโน้มที่ต่อยอดไปอีกจาก Internet of Things โดยประเด็นแรกคือการที่ผู้ใช้งานแต่ละคนจะมีการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Mobile Device, Wearable(อุปกรณ์สวมใส่), เครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน, อุปกรณ์บนรถยนต์ และอุปกรณ์ทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็คือ Sensors ในระบบ Internet of Things นั่นเอง
นอกจากนี้ระบบ Back-end สำหรับ Internet of Things ที่ปัจจุบันยังมีการแยกขาดจากกันสำหรับแต่ละผู้ผลิตนั้น แต่ในอนาคตอาจสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้อีกด้วย
2. อุปรกรณ์เสมือนจริง
จากแนวโน้มแรกที่บอกว่าอุปกรณ์ต่างๆ จะมีการเติบโตขยายอย่างรวดเร็วย่อมทำให้เกิดแรงผลักดันเทรนด์ต่อมาซึ่งเป็นการอาศัยอุปกรณ์ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะอยู่ในรูปแบบ Augmented Reality (AR)หรือ Virtual Reality (VR) โดยจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือการสร้างประสบการณ์เหล่านี้นั้นจะไม่ยึดติดกับอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งอีกต่อไป แต่จะลดข้อจำกัดทางด้านอุปกรณ์ รวมถึงระยะเวลาและพื้นที่ต่างๆ ลงได้ทั้งหมด ในอนาคตอาจมีอุปกรณ์เสมือนจริงที่เหลือเพียงหน้าจอควบคุมเพียงอย่างเดียวโดยไม่จำเป็นต้องมีรูปร่างอุปกรณ์เหมือนอย่างในอดีต เช่น มือถือที่ฟังชิบลงในร่างกายและแสดงออกมาเพียงหน้าจอ
3. วัตถุดิบของเครื่องพิมพ์3มิติ (3D Printer Material)
เครื่องพิมพ์ 3 มิติที่สามารถพิมพ์ให้ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นชิ้นงานที่เป็นวัสดุจริงๆ ไม่ใช่แค่ภาพพิมพ์เพียงอย่างเดียว โดยแนวโน้มที่คาดว่าจะเกิดขึ้นคือการพัฒนาให้รองรับกับวัสดุที่ป็นวัตถุดิบการพิมพ์ที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น แต่เดิมที่อาจจะรองรับได้แค่พลาสติกหรือผงแป้งที่มีความละเอียดมากๆ เพื่อใช้ในการขึ้นรูปหรือทำตัวอย่างเท่านั้น วัสดุเช่น นิกเกิ้ลอัลลอย คาร์บอนไฟเบอร์ แก้ว หมึกชนิดพิเศษ กระแสไฟฟ้า หรือวัสดุที่ใช้ในทางการแพทย์หรือทางชีววิทยา หรือแม้แต่กลุ่มอุตสาหกรรมอวกาศ รถยนต์ พลังงานและการทหาร ในอนาคตเราอาจสามารถผลิตอะไหล่รถยนต์ชิ้นเล็กๆ เลนกรอบไฟ กระจกมองข้าง โดยไม่จำเป็นต้องรออะไหล่จากศูนย์ใหญ่เพียงแค่เก็บไฟล์ 3D เอาไว้ก็สามารถผลิตอะไหล่ได้แล้ว หรือในวงการแพทย์อาจหมายถึงอวัวะเทียมที่ทดแทนอวัยวะเดิมที่เสียหายไปก็ได้
4. โลกของข้อมูล(Information of Everything)
ปัจจุบันทุกสิ่งในชีวิตประจำวันถือว่าเป็นข้อมูลได้หมดไม่ว่าจะเป็น การเดิน วิ่ง ทำงาน กินข้าว หรือทุกอิริยาบถจะถือว่าเป็นข้อมูลที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ (Information) โดยข้อมูลเล็กๆ เหล่านี้จะถูกจัดเก็บโดยเซนเซอร์ที่มาจากอุปกรณ์ใน Internet of Things เพื่อนำไปเก็บใน Big Data ซึ่งจะนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การมุ่งมั่นความสนใจที่ข้อมูลว่า ต้องการข้อมูลอะไร ในรูปแบบใดความถี่ของข้อมูลที่ต้องการ การได้มาของข้อมูลจะต้องทำอย่างไร อุปกรณ์ตัวไหนที่จำเป็นเซนเซอร์รูปแบบไหนที่ต้องใช้ การเชื่อมโยงข้อมูลปริมาณมหาศาลเหล่านั้นเข้ามาจะทำด้วยวิธีไหนและจัดเก็บ แยกแยะโดยให้ง่ายต่อการนำมาวิเคราะห์และหาประโยชน์ นั่นแหละคือความท้าทายที่กำลังจะเกิด
5. ระบบที่เรียนรู้และตอบโต้เองได้ (Advance Machine Learning)
ปัจจุบันด้วยข้อมูลปริมาณมหาศาลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและยังมีความซับซ้อนจึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องแยกแยะข้อมูลและทำการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ ด้วยระบบคนที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพนัก แต่ DNNS (Deep Nerual Networks) จะช่วยเข้ามาทำให้งานเหล่านี้สามารถเป็นไปได้อย่างอัตโนมัติ รวดเร็วและทันเวลาซึ่งจะช่วยให้การตัดสินใจทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเหล่านั้นเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาที่ต้องการ หรือที่เรารู้จักคุ้นเคยว่า AI (Artificial Intelligent) เป็นระบบที่มีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ อัตโนมัติด้วยตัวมันเอง
ปัจจุบัน Machine Learning ได้ถูกนำมาใช้ในหลายๆ ธุรกิจ เช่น Call Center กับระบบตอบโต้อัตโนมัติในแอพฯ มือถือเป็นต้น
6. ผู้ช่วยและสิ่งของที่สามารถเรียนรู้ตอบโต้ได้(Autonomous Agents and Things)
ต่อเนื่องจากการพัฒนาของระบบ Machine Learning ก็จะทำให้เกิดหุ่นยนต์ที่มีความชาญฉลาด ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์, ยานยนตร์อัตโนมัติ, ผู้ช่วยส่วนตัว (Virtual Personal Assistant/VPA) และผู้ให้คำแนะนำที่สามารถทำงานได้เองและโต้ตอบกันได้ ซึ่งระบบผู้ช่วยส่วนตัวอย่าง Google Now, Microsoft Cortana หรือ Apple Siri นั้นก็จะมีความชาญฉลาดมากขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของระบบเหล่านี้ และการโต้ตอบกันได้ในลักษณะนี้ก็จะกลายเป็น User Interface หลักของการทำ Ambient User Interface และทำให้การพูดมาแทนการกดปุ่มต่างๆ ทางหน้าจอได้ และเทคโนโลยีเหล่านี้จะเป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาต่อเนื่องยาวนานไปอึกถึง 20 ปี
7.Adaptive Security Architecture
การเติบโตของโลกที่ระบบ IT มีความซับซ้อนสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีการสร้างรายได้จากการ Hack ได้อย่างเป็นรูปเป็นร่างนั้น ทำให้ภัยคุกคามที่มีต่อองค์กรนั้นเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบบรักษาความปลอดภัยโดยการกำหนดกฎในแบบเดิมๆ นั้นใช้ไม่ได้อีกแล้ว และการที่องค์กรมีการสร้างบริการบน Cloud หรือ Open API เพื่อเชื่อมต่อกับพาร์ทเนอร์หรือลูกค้านั้นก็จะมีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีมากขึ้น ซึ่งผู้นำทางด้านระบบ IT ขององค์กรก็ต้องคอยตรวจสอบและตอบโต้ภัยต่างๆ
ในขณะที่ก็ยังคงละทิ้งการป้องกันภัยแบบเดิมๆ ไปไม่ได้ ระบบ Application ที่ป้องกันตัวเองได้ และระบบวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่มาเติมเต็มสถาปัตยกรรมแบบ Adaptive Security Architecture โดยสิ่งนี้เป็นการวางโครงสร้างระบบความปลอดภัยโดยใช้เทคโนโลยีผสมผสานเข้ากับระบบรักษาความปลอดภัยเดิมแต่เพิ่มส่วนของแอพฯ ที่สามารถตรวจจับภัยได้อย่างรวดเร็วและปรับเปลี่ยนเพื่อให้หยุดความเสียหายโดยทันเวลา เช่นหากระบบตรวจพบว่ามีการบุกรุกและไม่สามารถป้องกันได้ก็จะตัดการเชื่อมต่อชั่วคราว
8.Advanced System Architecture
เพื่อตอบรับการมาของ Device Mesh และ Advanced Machine Learning รวมถึงอุปกรณ์ที่สามารถเรียนรู้และโต้ตอบได้ Advanced System Architecture จะเป็นสถาปัตยกรรมที่มาตอบโจทย์ความต้องการได้ ในแนวโน้มนี้จะเป็นการพัฒนาสถาปัตยกรรมการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อรองรับกับปริมาณข้อมูลความซับซ้อนของแอพฯ สมัยใหม่ ตัวอย่างเช่น Smart Watch ที่เริ่มมีฟังก์ชั่นการทำงานมากขึ้น วัดการเคลื่อนไหว อัตราเต้นของหัวใจ เชื่อมต่อถ่ายโอนข้อมูลหรือการวัดสุขภาพแบบ Real-time เพื่อส่งแจ้งเตือนไปยังศูนย์บริการทางการแพทย์ก็ได้ อีกตัวอย่างที่เริ่มมีการนำมาใช้งานมากขึ้นคือระบบอัจฉริยะภายในรถยนต์ที่มีการติดเซนเซอร์ไว้ตามจุดต่างๆ เพื่อประมวลผลและเก็บบันทึกเพื่อใช้ช่วยเหลือผู้ขับขี่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
9. Mesh App And Service Architecture
การออกแบบแอพฯ ในแบบเดิมเริ่มเกิดความล้าสมัยไม่ประสบความสำเร็จในการนำมาใช้งานแล้ว โดยบริการแบบใหม่ที่จะถูกนำมาใช้งานและเป็นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นคือ Software-defined application service (ซอฟต์แวร์และการบริการไปยังผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว) ตัวอย่างที่สังเกตุง่ายก็คือ ระบบ Cloud เนื่องจากมีความรวดเร็ว คล่องตัวและยืดหยุ่นในการทำงาน
10. Internet of Things Platforms
เทคโนโลยีและมาตรฐานต่างๆ สำหรับระบบ Internet of Things จะถูกพัฒนาขึ้นมาให้เป็นรูปเป็นร่างยิ่งขึ้น ทั้งการบริหารจัดการ, การรักษาความปลอดภัย และความสามารถต่างๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาระบบ Internet of Things มาใช้งาน และจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำ Device Mesh และ Ambient User Experience นั่นเอง
*ที่มา บทความของ Gartner