ข้อมูลติดต่อบริษัทไอโซแคร์

โปรแกรมสหกรณ์รูปแบบ Web Application มีประโยชน์อย่างไร

โปรแกรมสหกรณ์รูปแบบ Web Application มีประโยชน์อย่างไร
   ปรับปรุงเพิ่มเติม กรกฏาคม 2563
 
1. รูปแบบของโปรแกรมประยุกต์หรือโปรแกรมระบบงาน
โปรแกรม ระบบงานที่ใช้สำหรับสหกรณ์ หรืองานอื่น ๆ จะมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี มีชื่อเรียกกันง่าย ๆ อยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ หรือ 3 ยุค คือ
   (1) รูปแบบหรือยุค DOS Applicationช้เทคนิดของ DOS ซึ่งไม่มีความสามารถด้านกราฟิค
   (2) รูปแบบหรือยุค Desktop Application หรือมักเรียกกันทั่วไปว่า Windows Application ใช้เทคนิคของ Windows โดยเพิ่มเรื่องกราฟิคเข้ามา และมีเทคนิคอื่นๆผสมผสานอีกหลายด้าน
   (3) รูปแบบหรือยุค Web Application เป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบจาก Windows Application โดยใช้เทคนิคที่สามารถรองรับเทคโนโลยีของเว็บได้ คุณสมบัติสำคัญของเทคโนโลยีของเว็บคือ
        - ใช้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ (ปัจจุบันสามารถใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบ 3G หรือ 4G หรือ 5G หรือ WIFI ได้)
        - ใช้กับอุปกรณ์ไอทีได้หลากหลาย เช่น Computer PC, Notebook, Tablet หรือ โทรศัพท์มือถือ
ในปัจจุบัน การพัฒนาในรูปแบบ DOS Application หมดไปแล้ว การพัฒนาในรูปแบบ Windows Application ยังมีอยู่ แต่จะค่อย ๆ หมดไปด้วยกระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ในปัจจุบันและในอนาคต ทั้งระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องพัฒนา และบุคลากรรุ่นใหม่ จะมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนการพัฒาในรูปแบบ Web Application และมีผลเกี่ยวเนื่องไปถึงการพัฒนา Mobile Application (ที่เรียกกันติดปากว่า "แอป") ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบันและต่อไปในอนาคต

 

2. Web Application ในมุมมองที่เกี่ยวกับผู้ใช้งาน

ในหัวข้อนี้ขอจำกัดกรอบเฉพาะมุมมองที่เกี่ยวกับผู้ใช้งานเท่านั้น ซึ่งเป็นจุดเด่นที่สุดของ Web Application เพราะเป็นส่วนที่มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย (ในมุมมองของผู้พัฒนาโปรแกรม คือ ทำยากเหลือเกิน)

ผู้ใช้งานที่ใช้โปรแกรมระบบงานแบบ Web Application จะมองเห็นข้อดีอย่างชัดเจนก็เพราะว่า ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ขอให้สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ เขาก็สามารถใช้โปรแกรมระบบงานนั้นได้ ซึ่งโปรแกรมระบบงานแบบอื่นทำไม่ได้ เรามาดูว่ามันมีเหตุที่มาอย่างไร

โปรแกรมระบบงานจะมีส่วนประกอบที่ทำหน้าที่นำเสนอข้อมูล และรับข้อมูลจากผู้ใช้ซึ่งเรียกว่าเป็น User Interface (UI) ส่วนประกอบนี้มีผลกระทบสำคัญต่อผู้ใช้งาน คือ

- ถ้าเป็นโปรแกรมที่ไม่ใช่เป็นแบบ Web Application จะมีรูปแบบ UI เฉพาะที่อิงกับเทคนิคของระบบที่ใช้ ซึ่งตัวคอมพิวเตอร์ตัวลูกที่ต่อใช้งานต้องทำการติดตั้งโปรแกรมเฉพาะ หรือ Setup Program จึงจะสามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ตัวแม่ (Server) เพื่อใช้ระบบงานนั้นได้ เวลามีการปรับปรุง (Upgrade) ระบบที่ตัวแม่ ก็ต้อง Upgrade โปรแกรมที่ตัวลูกด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าปวดหัว โดยเฉพาะถ้ามีตัวลูกจำนวนมาก ต้องเหนื่อยและยุ่งยากกว่าจะ Upgrade ได้ครบ

- แต่ถ้าเป็นโปรแกรมที่เป็นรูปแบบ Web Application จะสร้างส่วนที่เป็น UI ให้มีมาตรฐานเป็นรูปแบบของเว็บ (HTML) ซึ่งสามารถเรียกใช้งานด้วยตัวโปรแกรมท่องเว็บทั่วไป (Web browser) เช่น Internet Explorer หรือ Firefox หรือ Google Chrome เป็นต้น ซึ่ง Web browser มักมีอยู่ในตัวลูกอยู่แล้ว เพราะเวลาลง Windows ที่ตัวลูก อย่างน้อยก็มี Internet Explorer ผู้ใช้ไม่ต้องลงโปรแกรมเฉพาะอะไรเพิ่มเติมอีก เพียงแต่อย่าให้เป็น Web browser รุ่นเก่า หรือใหม่มากเกินไป ... ที่สำคัญยิ่งก็คือเป็นรูปแบบที่เอื้อต่อการพัฒนาและใช้งานโปรแกรมบนมือถือ (Mobile Application) เพราะในปัจจุบันและอนาคตการพัฒนา Web Application หรือ Mobile Application ต่างก็พยายามปรับปรุงให้สามารถใช้ภาษาเขียนโปรแกรม หรือเครื่องมือช่วยพัฒนาอันเดียวกันมากขึ้น

ผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าหน้าที่สหกรณ์ ผู้บริหาร หรือกรรมการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ระบบงานสหกรณ์โดยตรง จะมีความสะดวกในการเข้าใช้ระบบงาน เมื่อใช้โปรแกรมรูปแบบของ Web Application

3. จะได้ประโยชน์อย่างไรในการให้บริการสมาชิกสหกรณ์

   ในสมัยก่อน สมาชิกสหกรณ์จะใช้บริการจากสหกรณ์ ก็ต้องไปที่ทำการสหกรณ์ สมัยนี้มีระบบโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานได้สะดวก คุณย่าวัย 90 ก็ใช้ คนที่อยู่ในท้องไร่ท้องนาก็ใช้ คนกวาดถนนก็ใช้ แล้วสมาชิกสหกรณ์คนไหนไม่ใช้มือถือ สมาชิกสหกรณ์จึงใช้บริการจากของสหกรณ์ผ่านมือถือเป็นหลักในการสอบถามข้อมูล แต่การใช้มือถือก็ต้องพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ ซึ่งจะมีปัญหาจากข้อจำกัดของจำนวนเจ้าหน้าที่ และช่วงเวลาของการใช้บริการ โดยเฉพาะช่วงสิ้นเดือนอาจมีลักษณะเป็นคอขวด สมาชิกติดต่อได้ยาก โปรแกรมแบบ Web Application (และ Mobile Application) เป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยเสริมการให้บริการสมาชิก และช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว

   หลักการสำคัญในการช่วยเสริมการให้บริการสมาชิก คือ การให้มีระบบที่สมาชิกบริการด้วยตนเองได้ (Self Services) ในเบื้องต้นก็ให้เป็นระบบที่ใช้สอบถามข้อมูลของตนเอง หรือข้อมูลสาธารณะ โดยเป็นการดึงข้อมูลมาดูได้อย่างเดียว ซึ่งสหกรณ์หลายแห่งได้ดำเนินการแล้ว ใช้ระบบที่เรียกว่า”ระบบข้อมูลสมาชิก” ซึ่งมีลักษณะเป็น Web Application ให้สมาชิกเรียกดูข้อมูลของตนเองผ่านทางเว็บไซต์ของสหกรณ์ ระบบนี้กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง โดยเฉพาะสหกรณ์ขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกจำนวนมาก หรือสมาชิกกระจัดกระจายอยู่ไกลโพ้น

   สำหรับในสมัยนี้และสมัยหน้าต่อไป สหกรณ์สามารถขยายขอบเขตของระบบให้สมาชิกบริการด้วยตนเองมากขึ้น เช่นการรับสมาชิกใหม่ การเรียกดูรายการหักเงินประจำเดือนได้(แทนใบเสร็จรับเงิน) การกู้ฉุกเฉินฉับไว การยื่นคำร้องขอกู้สามัญ กู้พิเศษ หรือแม้แต่ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆอีกมากมายที่สามารถทำได้ (ถ้าไม่ถูกควบคุมโดยกฎหมาย) สิ่งเหล่านี้จะทำได้ดีและมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยโปรแกรมระบบงานที่เป็นแบบ Web Application เป็นหลัก

4. Web Application มีข้อดีต่อสหกรณ์อย่างไร

นอกจากข้อดีในส่วนของการให้บริการสมาชิกดังกล่าวในข้อ 3 แล้ว ในการดำเนินงานของสหกรณ์ก็จะได้รับประโยชน์หลายประการ ได้แก่

4.1 การลดภาระงานและค่าใช้จ่าย การนำระบบให้สมาชิกบริการด้วยตนเองได้ จะช่วยให้เกิดผลดีต่อการดำเนินงานของสหกรณ์ เช่น ช่วยลดปริมาณการติดต่อสอบถามข้อมูลจากสมาชิกได้มาก ทำให้เจ้าหน้าที่มีเวลาในการพัฒนาปรับปรุงงานที่รับผิดชอบได้มากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ผลการดำเนินงานมีคุณภาพเพิ่มขึ้น การออกใบเสร็จรับเงินให้สมาชิกทุกเดือน ถ้าสามารถยกเลิกได้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและลดเวลาที่ต้องใช้ได้มาก และระบบ Web Application ช่วยลดภาระและค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง การ Upgrade โปรแกรม Setup ของเครื่องตัวลูก เป็นต้น ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วน ยังมีประเด็นอื่นอีกมาก แต่สิ่งที่อยากจะให้เข้าใจที่สำคัญ คือ การลดภาระงานและค่าใช้จ่ายมักไม่เห็นผลในระยะสั้น บางอย่างต้องใช้เวลานานพอสมควร

4.2 การเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานทำได้ง่าย เมื่อมีความต้องการที่จะขยายจำนวนผู้ใช้ระบบงานมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายกรรมการ อนุกรรมการ ฝ่ายเจ้าหน้าที่ หรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ และไม่ว่าจะอยู่ ณ สถานที่ใด (ที่มีระบบอินเตอร์เน็ต) ก็สามารถเพิ่มได้ง่าย เพียงแต่ต้องขอรับสิทธิ์และบัญชีผู้ใช้ (Account) จากผู้ดูแลระบบเท่านั้น สำหรับสหกรณ์ที่มีสมาชิกกระจัดกระจายอยู่ในที่ต่าง ๆ ถ้าต้องการเพิ่มจุดบริการย่อย ณ ที่นั้น ๆ ก็ทำได้โดยง่าย

4.3 การพัฒนาระบบให้เหมาะสมกับกาลสมัย ในโลกปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูง มีการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่รวดเร็ว สิ่งเหล่านี้เป็นสภาวะที่บีบบังคับทั้งทางตรงและทางอ้อมให้สหกรณ์ต้องปรับตัวให้ทันหรือใกล้เคียง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหา ดังเช่นที่เกิดกับสหกรณ์ร้านค้าอยู่ขณะนี้ เพราะไม่ได้นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทันสมัยมาใช้ ทำให้สู้ร้านค้าเอกชนไม่ได้ สหกรณ์การเกษตรก็ต้องต่อสู้กับเอกชนอย่างหนักในธุรกิจซื้อขายผลิตผลทางการ เกษตร ส่วนสหกรณ์ออมทรัพย์แม้จะยังสบายๆอยู่ ก็ไม่ควรประมาท การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ว่าจะเป็น Cloud Computing, Web Application หรือ 3G 4G 5G Mobile Generation มีแนวโน้มที่เข้ามามีบทบาทและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เฉพาะในเรื่องของ Web Application นั้น จะเห็นว่าโปรแกรมระบบงานรุ่นใหม่ๆจะเป็น Web Application แทบทั้งนั้น โดยเฉพาะชุดโปรแกรมระบบงานที่โด่งดังระดับโลก เช่น SAP เป็นต้น ดังนั้นการใช้โปรแกรมระบบงานสหกรณ์จึงควรพิจารณาแนวโน้มเหล่านี้ และเชื่อว่าการพัฒนาองค์กรให้มีระบบที่เหมาะสมกับกาลสมัย จะช่วยให้องค์กรอยู่ได้อย่างยั่งยืน

       ทีมงาน บริษัทไอโซแคร์ ซิสเตมส์ จำกัด/Thaicoop/ICoopThai เริ่มต้นพัฒนาโปรแกรมระบบงานสหกรณ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 มีประสบการณ์ในการพัฒนาทั้งรูปแบบ DOS Application, Windows Application และสุดท้ายได้ลงทุนลงแรงอย่างมากในการพัฒนาโปรแกรมสหกรณ์ ชุด Web Application จนสำเร็จเป็นเจ้าแรก ปัจจุบันได้ติดตั้งใช้งานในสหกรณ์แล้วเป็นจำนวนมาก และอยู่ในระหว่างดำเนินการอีกหลายแห่งเช่นกัน ในจำนวนนี้มีจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งของสหกรณ์ที่มีผลประกอบการอยู่ใน 10 อันดับแรกของประเทศ ตัวอย่างเช่น สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด  สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยามหิดล จำกัด  สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำกัด เป็นต้น ซึ่งได้ใช้ระบบงานหลักครบวงจร และระบบงานเสริมอย่างกว้างขวาง รวมถึงมีระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายที่รูปแบบเป็นมาตรฐานทั้งในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย

สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยมหิดล

 

     บริษัทฯได้คำนึงถีงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี จึงเป็นภารกิจสำคัญที่ต้องปรับปรุงโปรแกรมให้ทันสมัยเพื่อจะได้อยู่คู่กับสหกรณ์อย่างยืนยาว และสหกรณ์เองก็จะต้องปรับเปลี่ยนเช่นเดียวกัน ไม่เปลี่ยนวันนี้ วันข้างหน้าก็ต้องเปลี่ยนอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น เสมือนกับการซื้อทีวีใหม่ในสมัยนี้ จำเป็นต้องซื้อแบบดิจิตอลทีวี ฉันใดก็ฉันนั้น

โดยสรุป การใช้โปรแกรมสหกรณ์รูปแบบใหม่เป็น Web Application มีประโยชน์ดังนี้

1) รองรับเทคโนโลยีที่แพร่หลายในปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่เป็นเทคโนโลยีตัวหลักในอนาคต
2) ผู้ใช้งานมีความสะดวกในการเข้าใช้งาน สามารถใช้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์ไอที
3) สหกรณ์สามารถขยายขอบเขตการให้บริการสมาชิกได้อย่างกว้างขวาง มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4) ช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ในการดูแลจัดการระบบ สามารถเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานได้ง่าย
5) มีบุคลากรรองรับการดูแลบำรุงรักษาได้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การใช้รูปแบบเก่าจะหาผู้ดูแลรักษาโปรแกรมได้ยากขึ้น
6) ช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมในระยะยาว